วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

 

 

 

 
Posted by Picasa

ค่ายละครพัฒนาอัจฉริยภาพ (ค่ายต่อเนื่อง)

พี่ต้อมพี่ก๋วย แปลงร่างเป็นครูฝึกสุดโหด ในค่ายละครพัฒนาอัจฉริยภาพ (ค่ายต่อเนื่อง)
วันที่ 8-12 ต.ค 2551 ที่โรงละครมะขามป้อม เชียงดาว

หลังจากที่ได้เปิดรับสมัครเด็กๆจากทั่วประเทศเพื่อมาเข้าค่ายฝึกอบรมเพื่อค้นหาความเป็นอัจฉริยภาพด้านละคร โดยความร่วมมือของ สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้(สสอน) และกลุ่มละครมะขามป้อม ภายใต้ชื่อโครงการที่ว่า ค่ายละครพัฒนาอัจฉริยภาพ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีเด็กที่ได้เข้าร่วมในครั้งนั้นถึง 47 คน หลังจากที่แต่ละคนได้ผ่านการทำกิจกรรมในค่าย หลายคนก็ได้มีโอกาสกลับไปผลิตงานและแสดงอย่างต่อเนื่องภายในโรงเรียนของตัวเอง
ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเยาวชนเชิงลึก ได้ต่อยอดและส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านการละคร เพื่อพัฒนาให้เกิดนักการละครรุ่นใหม่ จึงคัดเลือกเด็กที่ฉายแววความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็น ด้านการแสดง การร้อง การเคลื่อนไหว การเขียนบท หรือการกำกับ ได้มีโอกาสมาเข้าค่ายซ้ำ และฝึกฝนอย่างเข้มข้น ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นในค่ายครั้งนี้ จะได้นำไปร่วมแสดงในงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ ในเดือน พ.ย. 51 นี้ด้วย
และแล้วการเดินทางของค่ายเด็กอัจฉริยะครั้งที่สองก็เริ่มต้นขึ้น และได้มีเด็กที่เราคาดว่าจะเป็นนักการละครรุ่นใหม่เข้าร่วมขบวนถึง 10 คนด้วยกันคือ เกมส์ นัท จ๋า นอยส์ อั๋น อุ๋ง วสันต์ ไม้ใหม่ บุ๋ม โคะโล๊ะ ถึงแม้ว่าจะดูเงียบเหงาไปหน่อยแต่ทุกคนก็ดูตั้งอกตั้งใจกันดี
สำหรับหลักสูตรในคราวนี้ พี่ต้อม พี่ก๋วย สองวิทยากรหลักของค่าย ได้เตรียมกิจกรรมขั้น “ แอดวาน........ซ์ “ สำหรับน้องๆเพื่อเป็นการท้าทายความสามารถ ด้วยกิจกรรมพัฒนามุมมองผู้กำกับและนักแสดง ที่มะขามป้อมเคยร่วมแลกเปลี่ยนกับสิบผู้กำกับชั้นแนวหน้า ในห้องทดลองผู้กำกับ DIRECTOR’S LAB เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
เริ่มต้นด้วยกิจกรรม LET’S BODY TALK การใช้ร่างกายในการสร้างเรื่องราว เพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และ เน้นหนักองค์ประกอบทางศิลปะ ภาคบ่ายเป็นการสร้าง INSTALLATION ART ประสบการณ์ประทับใจในความเป็นวัยรุ่นและ การแสดงประกอบงานศิลปะของแต่ละบุคคล ซึ่งน้องๆก็แสดงได้น่าสนใจมากเลยทีเดียว
วันที่ 2 น้องๆต้องแบ่งกลุ่มเล็กๆ ไปสัมภาษณ์ประวัติชีวิตความเป็นวัยรุ่นของคนในตลาดเชียงดาว ตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อนำเรื่องราวมาพัฒนาเป็นการแสดงสั้นๆ ที่น่าสนใจ ประกอบกับ โจทย์ที่ยากกว่าวันแรกด้วยการสร้างเรื่องใหม่จากบุคคลที่ไปสัมภาษณ์มาให้มีความลงตัวทั้งเรื่องการผสมผสานข้อมูลจริงและ จินตนาการเพิ่มเติมเรื่องราวให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แล้วทำการแสดงด้วยการเชื่อมโยงจากประโยชน์จากพื้นที่ในการแสดง (SPACE) ให้ได้มากที่สุด เสร็จสิ้นวันที่สองด้วยกระบวนการนำเสนอละครสั้นสองเรื่อง สุดสร้างสรรค์ ในเรื่อง ปมในใจของอุ๊ย และ เด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตทางเพศผิดพลาด
วันที่3-4 เป็นการพัฒนาบทละคร ด้วยเทคนิค DEVISING การให้น้องๆสร้างเรื่องด้วยการกำหนดสถานการณ์ หรือ โจทย์บางอย่างให้เพื่อพัฒนาเทคนิคการเล่าเรื่องราวให้หลุดจากกรอบคิดเดิม ๆ การตีความคำที่ต้องการสื่อสารให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาผลิตเป็นการแสดงที่มีมิติ และ มีความหมาย จนวันสุดท้ายจึงได้ การแสดงสั้น ที่เน้นการอ่านบทละครสั้นๆ และ การใช้ร่างกายประกอบการแสดง พร้อมคำแนะนำจากพี่ริชาร์ด ในเรื่องการนำเสียงสร้างสรรค์เข้ามาใช้ในละคร เพื่อเพิ่มเสน่ห์ของการเล่าเรื่อง
การแสดงสั้นๆเป็น SHOWCASE ชิ้นนี้ ชื่อว่า “ วัยรุ่น วัยวุ่น “ น้องๆจะนำมาร่วมแสดงในงานเทศกาลละครกรุงเทพ 2008 ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2551 เวลา 17.00 น ที่เวทีเยาวชน สวนสันติชัยปราการ ใครมีเวลาและอยากมาให้กำลังใจ หน่ออ่อนแห่งวงการละคร ห้ามพลาดนะจ๊ะ

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

 

 

 

 
Posted by Picasa

โครงการพัฒนาศักยภาพคนทำงานภาคประชาสังคม



โครงการแบ่งปัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ MICROSOFT จับมือเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพคนทำงานภาคสังคม
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 401 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ท่ามกลางสายฝนเทกระหน่ำ
ได้ฤกษ์เปิดห้องเรียนครั้งแรกสำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคม (รุ่นที่ 1 ) โดยความร่วมมือของโครงการแบ่งปัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ MICROSOFT นับว่าเป็นความร่วมมือที่น่าสนใจระหว่าง NGOs สถาบันการศึกษา และ ภาคธุรกิจ ที่ต้องการสร้างเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้กับคนทำงานด้านประชาสังคม ซึ่งมีองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมโครงการถึง 31 องค์กร เช่น มูลนิธิเด็ก Greenpeace สิกขาเอเชีย อโชก้า กระจกเงา มูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่ รวมทั้ง มะขามป้อม ก็ได้ส่งมะขามก๋วย และ น้องแต เข้าประกวดเอ้ยไม่ใช่ เข้าร่วมโครงการด้วย โดยการเรียน แบ่งออกเป็น 11 ครั้ง รวม 66 ชั่วโมง ทั้งเรื่องการบริการจัดการองค์กร การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลากร หรือ การเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในครั้งแรกเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจด้านสังคม ในเรื่องธรรมาภิบาลการเมืองการปกครองไทย โดย ผศดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล รองคณบดีรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยอาจารย์มาให้ภาพรวมของหลักการเรื่องธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สังคมควรนำมาเป็นบรรทัดฐานในการบริการองค์กร หรือ หน่วยงานของตน ตั้งแต่ระดับประเทศถึงชุมชน และ ครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยขณะนี้ก็มีจุดเริ่มต้นที่การชขาดธรรมาภิบาล นั่นเอง จึงหมักหมม กลายเป็นปัญาหารุกลาม มาจนยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว
โครงการนี้ยังมีการดำเนินงานต่อเนื่องไปอีกหลายครั้ง หากมีโอกาส และไม่ขาดเรียน มะขามก๋วย จะนำสาระดีๆจากห้องเรียนมาฝากอีกครั้ง นะขอรับ
ต้องขอขอบคุณทั้งสามหน่วยงานที่ตั้งอกตั้งใจ ทำโครงการดีๆที่น่าสนับสนุนอย่างนี้ ออกมา ใครที่สนใจแต่สมัคร ไม่ทันไม่ต้องเสียใจ เข้าใจว่าปีหน้าคงดันรุ่น2 ให้คลอดได้อย่างแน่นอน

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

 

 

 

 
Posted by Picasa

ละครโรงเล็กกับเด็กเชียงดาวครั้งที่ 9



โรงละครมะขามป้อมหวิดแตก เมื่อกองทัพเด็กเกือบ 400 ชีวิตบุก !!!!!!

เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ฟ้าสดใส เบิกฤกษ์งามยามดีตั้งแต่เช้า ดอยเชียงดาวปรากฎตัวให้เห็นตั้งแต่เช้าตรู่ เหล่าสต้าฟหน้าเหี้ยมหัวใจแอ้บแบ๊วทั้ง 4 ประกอบด้วย อบตหัวฟูกั๊ก นักฟุตบอลประจำชุมชนคุณนิสัน นางฟ้าน่าทะนุถนอมในคราบอีลำยองน้องปุ้ย และ คุณครูธุรการน้องมน ต่างกระวีกระวาดตระเตรียมสถานที่ ต้อนรับขบวนการนักแสดงเด็กหน้าใหม่ จากโรงเรียนบ้านทุ่งหลุก(อีกแล้ว) ที่คราวนี้เปลี่ยนรุ่น เป็นเด็กป.4-5 เพราะเด็กเก่าจบออกไปเรียนต่อมัธยมแล้ว เตรียมตัวซ้อมละครมาโชว์เต็มที่ เพราะขนผลงานการสร้างเรื่องจากการสำรวจชุมชน ส่วนหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้วยกระบวนการศิลปะ จากฝีมือการกำกับของอาจารย์ต้อม ที่พิเศษกว่าทุกครั้งก็คือ วันนี้จะเป็นการแสดงประชันกับพี่ๆรุ่นใหญ่ เอกสื่อสารการแสดงปริญญาโท จาก นิเทศศาสตร์ จุฬา ลูกศิษย์อาจารย์ริชาร์ด ที่อุตส่าห์แบกหน้ามาเรียนถึงริมดอย เลยทีเดียว
หลังจากเตรียมตัวกันจนหน้าเหี่ยว เด็กๆก็เริ่มเดินทางมาถึง จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นหลายร้อย รวมแล้วเกือบ 400 คน จาก 9 ศูนย์เด็กเล็กเขตบ้านแม่นะ โอ้มายก้อด เหมือนหนอนน้อยยั้วเยี้ยโรงละคร เด็กๆตื่นเต้นกันมากเพราะจะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้ดูละครสดๆ หลายคนเหมารถลงมาจากดอยเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมหลอกเด็กโดย พี่กั๊ก กับพี่มน เหมือนเคย แล้วก็เป็นการแสดงละครเรื่อง ตำนานบ้านทุ่งหลุก โดยพี่เด็กๆในชุมชน ต่อด้วยละครนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า จากพี่ๆนิเทศ จุฬา การแสดงจบเด็กหลายคนร้องไห้ ไม่ใช่เพราะละครเศร้า แต่เพื่อนนั่งทับหัวแม่ตีน พี่กั๊กแบ่งกลุ่มเด้กออกเป็น 4 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม 4 ซุ้ม คือ ปั้นดินเหนียว ร้อยลูกป้ด เล่านิทาน และ วาดรูปโปสเตอร์นิทาน เมื่อเข้าสู่กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ บรรยากาศแห่งความสนุกสนานปนอลหม่านก็เริ่มขึ้น เพราะเด็กๆ สนใจไปหมดกับการทำกิจกรรม ที่พี่ๆรังสรรค์
จนเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว จนเกือบเที่ยงเด็กก็เดินทางกลับโรงเรียนเพื่อไปทานข้าวกลางวัน
บรรยากาศโรงละครจึงกลบเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง

หมายเหตุ กิจกรรมละครโรงเล็กกับเด็กเชียงดาว เป็นกิจกรรมบริการชุมชน ที่มะขามป้อมจัดขึ้นทุกเดือน ให้กับเด็กๆและโรงเรียนในชุมชน ได้มีโอกาสใช้พื้นที่เชิงศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจในความแตกต่างของกลุ่มคนต่างๆในชุมชนตั้งแต่วัยเยาว์ ขณะนี้กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากเด็ก ผู้ปกครองโรงเรียน ในชุมชนเป็นจำนวนมาก หากท่านสนใจสนับสนุนกิจกรรมในโครงการนี้ สามารถสมัครเป็นอาสาสมัครอ่านนิทานหรือ สอนศิลปะเด็ก บริจาคหนังสือนิทานของท่าน หรือ ทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม โดยสามารถติดต่อได้ที่ อีเมล์มะขามป้อม makhampom2@hotmail ตลอดเวลาจ้า

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

งานแถลงข่าวละครสะท้อนปัญญา

ละครสะท้อนปัญญาเปิดตัวแล้วอย่างคึกคัก สื่อสนใจทำข่าว ล้นทะลักมะขามป้อมสตูดิโอ
สดๆร้อนๆ มะขามป้อมได้ฤกษ์เปิดตัวโครงการใหญ่ ใหม่ล่าสุด “ละครสะท้อนปัญญา” หวังสร้างนักละครเลือดใหม่ประดับวงการละครเวทีไทย
ผูู้สื่อข่าวหน้าใหญ่ รายงานสดๆเพราะเพิ่งผ่านมาหยกๆเมื่อวันที่ 17 กันยา 51 จากมะขามป้อมสตูดิโอในวันเดียวกับที่มีการยกมือเลือกตั้งนายกคนใหม่ในสภาว่า มีงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการละครสะท้อนปัญญาด้วยการสนับสนุนเต็มกำลังจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) นักข่าวสื่อมวลชนจากหลายสำนักเริ่มทยอยมาถึงสตูดิโอกันในช่วงบ่ายๆ ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย แล้วเริ่มต้นด้วยการกล่าวทักทาย โดยพิธีกรสาวสวยของงานนี้ จากรายการกบนอกกระลา แวนด้าหน้าเด็ก ดวงธิดา นครสันติภาพ อาสาสมัครศิษย์เก่าที่ไปได้ดิบได้ดีอีกคน ตามมาด้วยละครสั้นสะท้อนปัญญาและสังคม เรื่องเกมชีวิต GTA ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ นักเรียนม. 6 จี้แท้กซี่ เรื่องราวเบื้องหลังของสองชีวิตบนรถแท้กซี่คันนั้น ที่ไม่มีใครคิดจะสนใจ มากไปกว่าปรากฏการณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยฝีมือการแสดงอันยอดเยี่ยมของน้องโอ้ค และน้องเกรียง จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร และ ริ้วรอยการกำกับอันเฉียบขาดของคุณประดิษฐ ศิษย์ศิลปาธรของเรานั่นเอง ทำเอาคนดูเงียบกริบไปทั้งโรงละคร (ไม่ใช่หลับแต่สัปหงกฮ่าๆๆๆ)
แล้วก็มาถึงช่วงเวลาสำคัญของรายการ คือ การเสวนา “พลังทางปัญญากับสถานการณ์เยาวชนในสังคมไทย” ด้วยแขกรับเชิญที่น่าสนใจมาก 4 ท่าน คือ
คุณหมอ บัญชา พงษ์พานิช ผู้อยู่เบื้องหลังผลักดันโครงการนี้ให้เป็นจริง
“สสส อยากผลักดันโครงการนี้เพราะเชื่อมั่นในพลังของเยาวชนว่าสามารถทำอะไรดีๆให้กับสังคมได้ เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นเหมือนการเล่นละครเป็นการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนสามารถสื่อสารเรื่องราวทางปัญญาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจำเป็นกับสังคมในทุกวันนี้ เพราะจะเป็นทางออกไปสู่แสงสว่าง ส่วนละครนั้นเป็นมหรสพทางจิตวิณญาณของมนุษย์ เหมือนที่อาจารย์ของท่าน คือท่านพุทธทาสเคยสอนว่ามนุษย์ต้องการ”สิ่งประเล้าประโลม”ละครเป็นความบันเทิงทางปัญญาช่วยให้คนในสังคมมีความคิด มีความสุข จึงมาร่วมมือกับมะขามป้อมช่วยกันพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมา
น้องเต้า กิตติพันธ์ กันจินะ ผู้อำนวยการ โครงการกล้าเลือกกล้ารับผิดชอบ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ประเทศไทย
โครงการนี้จะสร้างทางเลือกที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน ทำอะไรที่ตัวเองสนใจ จากประสบการณ์ตัวเอง ที่เคยผ่านกระบวนการละครมาเต้าพบว่าละครไม่ใช่ทำให้เด็กเป็นคนดีแต่ช่วยทำให้มีช่องทางในการสื่อสารกความคิดกับเพื่อนๆในชุมชน ปัญญาคือการ คิดวิเคราะห์แยกแยะได้ ปัญญาที่เหมาะกับวัยรุ่นคือการลองผิดลองถูก เรียนรู้ด้วยตัวเอง และเชื่อว่าจะช่วยให้เด็กๆได้สนุกกับโครงการนี้แน่นอน
คุณเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ผู้รับบท “ดอน กิโอเต้แห่งลามันช่า” จากละครเวทีที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม “สู่ฝันอันยิ่งใหญ่”
บทละครดีๆช่วยให้คนดูมีความหวัง มีกำลังใจ อาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่นบทละครเรื่อง สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนหลายคน ส่วนผู้ผลิตหรือผู้แสดง การได้ฝึกฝนการแสดงละคร การเคลื่อนไหว การใช้เสียง การตีความ จะช่วยให้ เรามีสติ สมาธิ เห็นแง่มุมบางอย่างไปสู่การเข้าใจตัวเอง หรือ ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
คุณพี่ตั้ว ประดิษฐ ประสาททอง ผู้อำนวยการศิลปะของโครงการนี้ บอกว่า
ละครเวทีเป็นอิสระจากการหาเงินทุนและธุรกิจ จึงสามารถในการนำเสนอปัญญาให้กับสังคมได้ โครงการนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตให้กับผู้ชม นอกจากนั้นยังเน้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติการมองโลกของเยาวชนผู้ผลิตละครในโครงการ มองเห็นศักยภาพในตัวเองเพราะเราเชื่อมั่นว่า คนทุกคนมีสิ่งดีๆซ่อนอยู่ ดังนั้นละครจะเป็นเวทีที่ทำให้สามารถดึงศักยภาพเหล่านั้นออกมา เป็นพลังทางบวกที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีร่วมกันต่อไป
สุดท้าย คุณก๋วย มะขามเม็ดโต หัวหน้าโครงการ ออกมาเล่าถึงรายละเอียดโครงการอย่างรวบรัด ก่อนที่นักข่าวจะรุมกันสัมภาษณ์ วิทยากรบนเวทีอย่างเมามัน
“อยากจะบอกว่าโครงการนี้เปิดรับสมัครน้องๆนักศึกษา ทุกคนที่มีความฝัน มีไฟ และ สนใจงานละคร รีบรวมตัวกันแล้วสมัครมาเลยอย่ารั้งรอเพราะเปิดรับสมัครถึง 15 ตุลาคม 51 เท่านั้น เรามีโอกาสดีๆเตรียมให้น้องๆทุกคนอยุ่ รับรองว่าจะเป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่หาไ่ม่ได้งา่ยๆ ถ้าพลาดอาจต้องรออีกเป็นปี “ หัวหน้าโครงการกล่าวอย่างมีอารมณ์ …(ขัน)
สนใจติดต่อพี่ฝน หรือ u_drama@hotmail.com www.makhampom.net
บล้อค dramaspirit.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แผลงฤทธิ์…กลุ่มสถาปนิกหนุ่มสาวที่มีกำลังมาแรงแห่งเมืองเชียงใหม่

แผลงฤทธิ์…กลุ่มสถาปนิกหนุ่มสาวที่มีกำลังมาแรงแห่งเมืองเชียงใหม่
June 18th, 2008



‘แผลงฤทธิ์’ ไม่ใช่ชื่อภาพยนตร์กำลังภายใน แต่เป็นกลุ่มสถาปนิกเลือดใหม่ที่มีชื่อติดหู
ซึ่งมีผลงานการออกแบบอาคารรูปลักษณ์ไม่เหมือนใคร ที่กระจายตัวอยู่ในเชียงใหม่ทุกวันนี้
ผลงานการออกแบบของคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้กำลังมาแรงและมีบทบาทไม่น้อยในการตกแต่ง
โฉมหน้าส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ให้ดูทันสมัย ด้วยแนวคิดและการออกแบบอาคารที่เป็นเอกลักษณ์




สำนักงานของแผลงฤทธิ์ถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายตรงไปตรงมาดูทันสมัย เปิดเผยให้เห็นพื้นผิวของ
วัสดุจริงประกอบกับบานกระจกทรงสูงโปร่งให้ความต่อเนื่องของพื้นที่ภายนอกและภายใน ซึ่งโดดเด่นจาก
อาคารและบ้านเรือนในละแวกใกล้เคียงคนอาจจะเรียกงานที่เราทำว่าเป็นแนวโมเดิร์น เพราะดูผิดหูผิดตา
ไปจากคนอื่น ผมเคยถามคนทั่วไปว่าตรงไหนที่คิดว่าเป็นเอกลักษณ์ของเรา เขาบอกว่าตรงที่เราใช้เหล็ก
และใช้ไม้แบบนี้แหละ เรามักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นไม่กี่ชนิดเช่น ปูน ไม้ และเหล็ก ที่สามารถสร้างขึ้น
ได้ง่ายและมีราคาไม่แพง ที่จริงแล้วผมว่าเป็นสไตล์ของเราเองมากกว่าซึ่งมักมาจากการแก้ปัญหาต่าง ๆ
และความต้องการในสร้างอาคารในฝันบนพื้นฐานการมีวัสดุและงบประมาณที่จำกัด” ขวัญชัย สุธรรมซาว
สถาปนิกและผู้บริหารหนุ่ม วัย 30 ปี แห่งแผลงฤทธิ์กล่าวเขาเสริมว่าพื้นฐานการออกแบบของแผลงฤทธิ์
นั้นมีองค์ประกอบสำคัญมาจากพัฒนาการของวัสดุพื้นฐานใน ปัจจุบันซึ่งเอื้ออำนวยให้แนวความคิดการ
ออกแบบนั้นมีขอบเขตที่กว้างขวางกว่าเดิม เช่นการมีแผ่นเหล็กหรือเมทัลชีทที่ช่วยให้สามารถออกแบบ
โครงสร้างหลังคาที่แตกต่างไป แทนการใช้คอนกรีตเทที่มีน้ำหนักมาก หรือกระจกบานสูงที่ช่วยให้ผู้ออก-
แบบสร้างงานตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น



ขวัญชัยเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถาบันราชมงคลล้านนา
และสำเร็จระดับอุดมศึกษาจากคณะคุรุศาสตร์สถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
กรุงเทพ ในช่วงดังกล่าวนั้นเขามีผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลเชิงความคิดสร้างสรรค์จากงานประกวด
แบบทางสถาปัตยกรรมหลากหลายเช่น รางวัลรองชนะเลิศ โครงการสาทร 2000 ของสถานทูตฝรั่งเศสในปี
2542 รางวัลรองชนะเลิศผลิตภัณฑ์ยิมซั่มไทย ปี 2543 รวมทั้งรางวัลรองชนะเลิศอันดับสามศูนย์ออกแบบ
สีนิปปอนใน ปี 2546

“พอเรียนจบมาก็ทำงานกราฟิกดีไซน์ เพราะตอนนั้นบรรยากาศของวงการสถาปนิกที่เรารับรู้มามันไม่ค่อยดี
ทำให้ไม่อยากเป็นสถาปนิกไปพักใหญ่ อยู่มาวันหนึ่งได้อ่านหนังสือ ‘Rich dad, Poor dad’ เข้าทำให้เกิด
จุดเปลี่ยนทางความคิดว่าเราน่าจะเลือกทางเดินที่คนอื่นไม่ค่อยเลือกคือการทำธุรกิจของตัวเอง ถึงแม้มี
ความเสี่ยงแต่ถ้าไม่สำเร็จก็คิดว่ายังกลับมาสมัครงานบริษัทต่างๆ อีกได้ ในเมื่อเรามีความรู้ความสามารถ”

ขวัญชัยทบทวนความหลังถึงจุดเปลี่ยนในวันที่เขาตัดสินใจขายรถ และลาออกจากงานที่กรุงเทพเพื่อกลับ
มาทำธุรกิจที่บ้านเกิด โดยตัดสินใจเปิดร้านกาแฟที่เชียงใหม่ โดยใช้ความรู้ทางสถาปนิกออกแบบร้านใช้
ชื่อว่า Café Mong Pearl ซึ่งต่อมาได้ขายต่อกิจการไป เมื่อหันมาทำบริษัทสถาปนิกอย่างจริงจัง

“ห้าปีก่อนนั้นร้านกาแฟกำลังบูม คิดว่าทำไมสตาร์บัคยังทำได้ เห็นว่ากาแฟมีต้นทุนไม่แพง แต่เมื่อทำเข้า
จริงนั้นไม่เป็นไปอย่างที่คิด เพราะมีอะไรอย่างอื่นอีกมาก ปรากฎว่าทำไปใช้หนี้ค่าตกแต่งร้านไป ไม่เหลือ
กำไรเท่าไร จังหวะนั้นมีเพื่อนที่เรียนสถาปัตยกรรมมาด้วยกันชวนให้ทำงานออกแบบด้วย ก็เลยทำทั้งร้าน
กาแฟและงานออกแบบวุ่นวายไปหมดบริหารจัดการไม่เป็น บังเอิญมีคนสนใจขอซื้อกิจการร้านกาแฟจึงขาย
ไปและตั้งใจกลับไปหางานใหม่ แต่เพื่อนก็ชวนให้มาลุยเปิดบริษัทกันเอง อันเป็นที่มาของแผลงฤทธิ์ในวันนี้”

ขวัญชัยท้าวความถึงจุดเริ่มต้นทางธุรกิจในปี 2548 โดยกล่าวว่าวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือความชัดเจน
และเอาบทเรียนต่าง ๆ ที่เคยล้มเหลวทางธุรกิจมาใช้ในการบริหารจัดการบริษัทแผลงฤทธิ์จนสามารถยืนหยัด
อยู่ได้จนมีทีมงานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่กว่าสิบห้าคนในวันนี้

“ชื่อแผลงฤทธิ์นั้น มันคือกิริยาของคนที่อึดอัดแล้วต้องแสดงออก แต่ไม่ใช่ในรูปแบบของความก้าวร้าว
แต่เป็นการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส เกิดเป็นผลงานที่มีผลกระทบมาก”



ผลงานการออกแบบอาคารของแผลงฤทธิ์ก็เริ่มเป็นที่รู้จักและแนะนำกันไปปากต่อปาก นับตั้งแต่การออกแบบ
บ้าน โครงการบ้านพักอาศัย อาคารพานิชย์ ร้านอาหาร เช่น Maze Cafe’ หรือว่า Mo Hotel โรงแรมรูปทรง
หลุดโลกที่ได้ทำงานออกแบบร่วมกับศิลปินชื่อไทวิจิตร พึ่งสมบูรณ์ ซึ่งกำลังก่อสร้างย่านถนนท่าแพ เมือง
เชียงใหม่ที่พร้อมจะเปิดตัวในเร็ววันนี้หัวเรือใหญ่แห่งแผลงฤทธิ์กล่าวว่าบริษัทฯนั้นมีงานยาวไปจนถึงสิ้นปีหน้า
โดยได้ขยายพื้นที่การออกแบบไปสู่พื้นที่อื่น ๆ แล้วอย่างจังหวัดภูเก็ตและเกาะสมุย นอกจากนี้เขายังได้เปิด
บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ชื่อว่า ‘บริษัทไร้เทียมทาน’ เพื่อรองรับงานก่อสร้างไปในเวลาเดียวกัน ”ที่ผ่านมาผม
ทำงานไปนับสิบโครงการในปี ๆ หนึ่ง ในอนาคตอยากจะจำกัดงานของเราให้เหลือปีละแค่ห้าโปรเจคเท่านั้น
ก็พอเพื่อให้ได้คุณภาพดี” ในการทำงานออกแบบแต่ละโครงการนั้น ขวัญชัย เน้นว่าต้องคำนึงถึงภาพรวมและ
ผลกระทบต่อเมืองด้วย ”ผมยึดความเหมาะสมก่อน ถ้าผมรับได้ลูกค้ารับได้ก็ win-win ทั้งคู่ ถ้าลูกค้าต้องการ
ตามใจฉันหมดโดยไม่มีเหตุผล ผมจะไม่ทำ ยิ่งให้สร้างคร่อมคลอง พาดลำเหมืองผมไม่เอา”



“ที่ผ่านมาผมทำงานออกแบบมาทุกรูปแบบไม่ว่าแนวล้านนาหรือแนวทรอปิคอล แต่คิดว่าเราต้องมีความ
ชัดเจนสักอย่าง ซึ่งเราเลือกที่จะทำงานในแนวนี้ที่เราชอบมากที่สุด การที่ทำอะไรแตกต่างย่อมถูกจับตา
มองเป็นธรรมดา คนอาจมองว่าเราจุดกระแสงานออกแบบแนวโมเดิร์นขึ้นที่นี่ แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น ความจริง
งานแนวนี้มีมานานแล้ว เช่นปั้มน้ำมันหรือธนาคารก็เป็นงานออกแบบที่โมเดิร์นแต่เราเคยชินกับมันมาแต่ไหน
แต่ไร ที่จริงผมทำงานออกแบบแนวนี้มานานแต่เป็นบ้านตามซอกซอย พอช่วงหลังมีโอกาสออกแบบอาคาร
สาธารณะอย่างร้านอาหาร หรือสำนักงานที่คนพบเห็นมากทำให้รู้จักเรามากขึ้น”

ตามทัศนะของขวัญชัย งานสถาปัตยกรรมประกอบขึ้นจากองค์ประกอบเล็ก ๆ หลายส่วนและรวมกันเป็นส่วน
ประกอบของเมืองอีกที ซึ่งเมื่อวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไปสถาปัตยกรรมก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้
“ลูกค้าบางคนบอกว่าต้องการอยู่บ้านแบบล้านนาดั้งเดิม อยากมุงกระเบื้องดินขอ แต่ก็ต้องการเครื่องปรับ
อากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายแบบสมัยใหม่ ซึ่งคามคิดของผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้ากันเลย
กับวิถีชีวิตของเขาที่แตกต่างจากคนสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง การออกแบบทุกอย่างมันต้องมีที่มาที่ไปของมัน
เช่นการที่คนสมัยก่อนทำฝาไหลอยู่ข้างล่าง เพราะเขานอนบนพื้น ไม่ได้นอนเตียงเหมือนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่อง
ที่ต้องมีความเข้าใจ ไม่ใช่เอามาใช้ผิดที่ผิดทาง” ในสายวิชาชีพขวัญชัยมีสถาปนิกที่เขาชื่นชอบในดวงใจ
หลายคน โดยเฉพาะสถาปนิกที่โด่งดังในระดับสากลอย่าง Rem Koolhass แห่งสำนัก OMA (The Office
for Metropolitan Architecture) แห่งเนเธอร์แลนด์ ที่เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชน
เมือง ซึ่งมีผลงานการออกแบบอาคารสำคัญ ๆ ทั่วโลก ขวัญชัยมองแนวโน้มทางการออกแบบสถาปัตยกรรม
ในอนาคตว่า “เทรนด์ของการออกแบบจะมุ่งไปในประเด็นที่เกี่ยวกับโลกร้อนมากขึ้น รวมทั้งเรื่องการพัฒนา
วัสดุก่อสร้างในเชิงชีวภาพ เช่นต่อไปที่อาจมีน้ำยาเคมีที่เชือมไม้หรือเหล็กให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ อะไรทำนอง
นั้น” “ผมว่าต่อไปนั้นเทคโนโลยีและวัสดุจะเป็นตัวกำหนดเทรนนั้นออกมาเอง” หัวหน้ากลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่
ที่กำลังประสบความสำเร็จในเชียงใหม่ในวันนี้ กล่าวส่งท้าย

ทุกวันนี้ใครที่ได้มาเยือนเชียงใหม่ต่างกล่าวว่าโฉมหน้าของเชียงใหม่ในวันนี้เปลี่ยนไปอย่างมากท่ามกลาง
สภาพของเมืองที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ และอาคารพานิชย์ต่าง ๆได้
ผุดขึ้นให้เห็นกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง ถนนนิมมานเหมินท์หรือพื้นที่อยู่อาศัยต่าง ๆ กำลังแปรเปลี่ยนเป็นย่าน
ธุรกิจการค้าตามซอกมุมต่างๆ นั้นมีอาคารที่มีรูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปนเปกันไปอย่างมีสีสัน ทั้งอาคารรูปทรง
อนุรักษ์อย่างล้านนา ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากอาคารแบบมินิมัลลิสต์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ อันแสดงถึงอัตลักษณ์
และทิศทางการเติบโตของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันที่ยังยืนอยู่รากเหง้าวัฒนธรรมแบบเดิมเป็นสำคัญ แต่ก็
กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นเมืองสมัยใหม่อย่างเต็มตัวทั้งนี้บรรดานักออกแบบรุ่นหนุ่มสาวแห่งเชียงใหม่ต่าง ๆ
เหล่านี้ กำลังเป็น เรี่ยวแรงที่มีบทบาทอย่างสำคัญในกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเมือง ซึ่งโฉมหน้า
เชียงใหม่ในอนาคตนั้นย่อมขึ้นอยู่ภายใต้แนวคิดและมันสมองการออกแบบของคนรุ่นใหม่ที่แสดงออกบน
พิมพ์เขียวแต่ละแผ่นด้วยนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อบรมครูร.รมิตรมวลชนเชียงใหม่








มะขามป้อมงานเข้า อบรมครูชียงดาวสุดฮอต โรงเรียนออเดอร์เพียบ

วันที่ 4-5 สิงหาคม ที่ผ่านมา โรงละครมะขามป้อมคึกคักอีกครั้ง เมื่อได้ต้อนรับ คณะครูจากโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ โรงเรียนน้องๆชาวเขา จากบ้านห้วยลึก อ.เชียงดาว โดยการนำของผ.อ สุดเวิร์ค อ. สำราญ ที่อุตส่าห์ปิดโรงเรียน เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเชิงสร้างสรรค์สำหรับครู เป็นการอบรม 2 วัน เรื่องเทคนิคการส่งเสริมการรักอ่าน

วิทยากร ก๋วย ต้อม จากฝ่ายละครการศึกษา เริ่มต้นที่การแลกเปลี่ยนพูดคุยประสบการณ์ส่วนตัว เรื่อง ความประทับใจจากการอ่าน บางคนชอบอ่านการ์ตูน เรื่องสั้น หรือ วรรณกรรม ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง เป็นแรงบันดาลใจ ในการดำเนินชีวิต แล้ว เริ่มออกแบบ มุมห้องสมุดในฝันของแต่ละคน แล้วมาออกแบบห้องสมุดในฝันของแต่ละทีม ทั้งห้องสมุดบนท้องฟ้า ในน้ำ บนดิน เน้นจินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์กันให้บรรเจิดสุดฤทธิ์สุดเดช ส่วนช่วงบ่ายเป็นการเรียนรู้เทคนิคละครสร้างสรรค์มาสร้างการแสดงเล็กๆง่ายๆประกอบการเล่านิทานในห้องเรียนที่น่าสนใจ คุณครูทำสนุกสนานเพลิดเพลิน กันเลยทีเดียว
วันที่สอง เป็นการระดมเรื่องราว เรื่องเล่าในชุมชน เป็นนิทานพื้นบ้าน แล้ว สร้างเป็นนิทานประกอบการแสดง ด้วยเทคนิคการเล่าปากเปล่าโดยการเพิ่มท่าทาง น้ำเสียง ลีลาในการเล่า มากยิ่งขึ้น คุณครูทำได้ดี น่าชื่นชมมากๆเลยทีเดียว สุดท้ายเป็นการ นำนิทานพื้นบ้านที่ได้มา สร้างหุ่นสามประเภทได้แก่ หุ่นเงา หุ่นก้านเชิดและหุ่นมือ

ทั้งสองวันเป็นการอบรมที่ทำให้ครูได้แนวคิด เทคนิคการสอน และ กำลังใจ อย่งท่วมท้น หลังการอบรมครูจะเป็นกิจกรรมอบรมแกนนำนักเรียนโรงเรียนมิตรมวลชน เพื่อขยายเครือข่ายรักการอ่านในชุมชน ในเดือนถัดไป ระหว่างนี้มีโรงเรียนหลายโรงติดต่อมาร่วมกิจกรรมกับมะขามป้อมศูนย์เชียงดาวหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนปางเฟือง โรงเรียนบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก โรงเรียนปลาดาว แม่แตง สนใจทั้งกิจกรรมอบรมครู ละครโรงเล็ก หรือ ค่ายเยาวชนต่างๆ ท่าทางเหล่าสต้าฟเชียงดาว ต้องทำงานหนักกันน่าดู แต่จะเป็นการทำงานหนักที่เต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงชุมชนเล็กๆของเราให้เป็นชุมชนที่ร่าอยู่สำหรับเด็กๆ ได้จริงๆ

Bookbike บุกเชียงดาว

BOOKBIKE นวัตกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชนเริ่มต้นแล้ว
ปูพรมทั่วเชียงดาวหวังสร้างกระแส “รักการอ่าน” ทั้งอำเภอให้ยั่งยืน

ตลอดเดือน กันยายนที่ผ่านมา โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทั่วอำเภอเชีงดาวแตกตื่น เมื่อได้พบกับสิ่งประดิษฐ์สุดมหัศจรรย์ Bookbike ห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่บรรจุหนังสือ นิทาน วรรณกรรมเยาวชน และ กิจกรรมน่าสนใจสำหรับเด็กมากมาย ทั้งการเล่านิทาน มายากล เกมสนุกๆ โดย พี่บอย พี่กั๊ก พี่นิสัน ตั้งใจมอบกิจกรรมดีๆ ที่อยากให้เด็กๆ สามารถเข้าถึงหนังสือ ดีๆมีประโยชน์ ส่งเสริมนิสัยการรักการอ่านนอกจากนั้นยังเป็นการต่อยอดการขยายผลจากกิจกรรมของแกนนำนักเรียนรักการอ่านในโรงเรียน จากโครงการปลูกต้นรักการอ่านปีที่ 1 ที่เพิ่งดำเนินการเสร็จสิ้นลงไปไม่นาน รถบุ้คไบท์จะตระเวณเข้าไปในทุกพื้นที่ ที่เด็กๆอยู่ เมื่อไปถึงจะจัดสถานที่นิดหน่อย เรียกเด็กๆด้วยการนำเกมสนุกๆ ร้องเพลง แล้ว จะเริ่ม บรรเลงกลยุทธ์หลอกเด็ก ด้วยการเล่านิทาน อ่านหนังสือ ชี้ชวนแนะนำหนังสือดีๆให้เด็กได้อ่าน อ่าน อ่าน และ อ่าน เด็กๆ จากศูนย์เด็กเล็ก น้องนักเรียนโรงเรียนประถมหลายแห่งในอำเภอ นั่งนิ่งอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ ที่ดูจะขัดแย้งกับงานวิจัยว่าเด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือ อ่านหนังสือปีละ 7 บรรทัด แท้ที่จริงอาจเป็นเพราะเด็กไทยไม่มีหนังสือที่เหมาะกับเด็กให้อ่าน หรือ เด็กเข้าไม่ถึงหนังสือมากกว่า ที่น่ายินดีคือผ็บริหาร คณะครูเกือบทุกโรงเรียนที่เราแวะเวียนไป ต่างต้อนรับกิจกรรมอย่างอบอุ่น สนุกสนาน มีโรงเรียนอีกหลายแห่งติดต่อ เข้าคิวรอให้รถบุ้คไบท์ไปเปิดบริการในพื้นที่อีกเป็นจำนวนมาก ต้องขอบพระคุณมูลนิธิ สตาร์ฟิช ที่สนับสนุนการสร้างรถมอเตอร์ไซค์ห้องสมุดเคลื่อนที่ และ กิจกรรมดีๆอย่างนี้ให้มะขามป้อมดำเนินการได้บรรลุผล
ที่น่าชื่นใจไปกว่านั้นก็คือ กลุ่มบริษัท แปลน ที่พาพนักงานเดินทางขึ้นมาทำกิจกรรมดีๆเพื่อสังคม เมื่อเดือนก่อน ในโครงการ PSR หรือ Plan Social Responsibility เพื่อเตรียมสร้างห้องสมุดในชุมชนบ้านออน หนึ่งในพื้นที่ ที่มะขามป้อมทำงานอยู่ด้วย มีความสนใจในโครงการ ห้องสมุดเคลื่อนที่ จึงจัดประกวด การออกแบบรถห้องสมุดเคลื่อนที่ โดยได้รับความสนใจจากนักออกแบบ ส่งแบบเข้าประกวดมากถึง 14 แบบ โดยให้ผู้ออกแบบได้นำเสนอแนวคิดในการออกแบบแก่กรรมการตัดสิน ที่มีป้านวล และ ป้าหมวย ร่วมเป็นคณะกรรมการ กับพี่ๆสถาปนิกรุ่นใหญ่ของบริษัท แต่ละแบบก็ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจ จุดเด่นกันไปคนละแบบ ในที่สุด ก็ได้แบบที่ชนะเลิศที่ผสมผสานแนวคิดสองแบบเข้าด้วย และ นักออกแบบจะร่วมกันพัฒนาแบบ จนเป็นรถห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่พร้อมจัดสร้างและ ส่งมอบให้กับมะขามป้อมศูนย์เชียงดาว ใช้งานได้จริง ราวๆเดือนตุลาคมนี้ ส่วนแบบที่เหลือทั้ง 12 แบบ มะขามป้อมจะพยายามผลักดันให้สามารถสร้างได้จริง จากการสนับสนุนขององค์กรในท้องถิ่น เพื่อสร้างเป็นรถห้องสมุดเคลื่อนที่ในหมู่บ้านต่อไป งานดีๆแบบนี้มะขามป้อมต้องขอขอบพระคุณนักออกแบบทุกท่าน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากบริษัทแปลน ที่ริเริ่มโครงการดีๆเพื่อชุมชน และ สังคมได้อย่างน่าชื่นชม

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สุขภาวะทางปัญญา


โดย พระไพศาล วิสาโลหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2549

องค์รวมหมายถึงความเป็นหนึ่งอันเกิดจากความเชื่อมโยงอย่างบรรสานสอดคล้องขององค์ประกอบต่าง ๆ สิ่งที่ตามมาก็คือคุณภาพใหม่ที่พิเศษไปจากคุณภาพขององค์ประกอบย่อย ๆ ทั้งหลาย ตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นคุณสมบัติดังกล่าวชัดเจน ได้แก่ ออกซิเจน และไฮโดรเจน ต่างเอื้อต่อการเกิดไฟ แต่เมื่อมารวมกันเป็นน้ำ ก็ได้คุณภาพใหม่ที่สามารถดับไฟได้ หรือแสงเจ็ดสีเมื่อมารวมกันจะได้แสงสีขาว ซึ่งเป็นสีที่พิเศษไปจากสีทั้งเจ็ดสุขภาพองค์รวมหมายถึงสุขภาพที่ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต เป็นสุขภาวะโดยรวมอันเกิดจากสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม ซึ่งต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ยากที่จะแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ หรืออย่างโดด ๆ ได้แนวคิดเรื่องสุขภาพองค์รวม มาจากความคิดพื้นฐานที่ว่า มนุษย์แต่ละคนนั้นประกอบ ด้วยกายและใจ ขณะเดียวกันก็มิอาจแยกตัวอยู่โดด ๆ ได้ หากยังต้องมีความสัมพันธ์กับผู้คน เริ่มจากพ่อแม่ ญาติพี่น้องไปจนถึงผู้คนในสังคม ด้วยเหตุนี้ กายและใจจะต้องสัมพันธ์กันด้วยดี ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงจะทำให้ชีวิตมีความเจริญงอกงามหรือมีสุขภาพที่ดีได้การวิจัยตลอด ๒ ทศวรรษที่ผ่านมาได้ชี้ว่า มีหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและความ สัมพันธ์กับผู้คน ที่ชัดเจนได้แก่โรคหัวใจ คนที่มักโกรธ เครียดจัด มุ่งมั่นเอาชนะ ไม่ยอมแพ้ มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนที่มีจิตใจผ่อนคลาย เมื่อปี ๒๕๓๘ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการศึกษาคนไข้โรคหัวใจขาดเลือดจำนวนกว่า ๑,๖๐๐ คน พบว่าคนที่ไม่สามารถควบคุมความโกรธได้ มีอัตราการกำเริบของโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าถึง ๒ เท่าเมื่อเทียบกับคนที่มีอารมณ์สงบและสามารถควบคุมตนเองได้ นอกจากนั้นยังมีการค้นพบว่าการจัดการกับความเครียดที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตายมากกว่าการสูบบุหรี่เสียอีก แม้แต่โรคติดเชื้อ ก็มีอิทธิพลของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ในสก็อตแลนด์ มีการพบว่าร้อยละ ๖๕ ของคนที่เป็นวัณโรคเคยประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดจัด ร้อยละ ๙๐ ของเหตุการณ์ณ์ดังกล่าวได้แก่การผิดหวังในความรัก ล้มเหลวในการแต่งงาน เมื่อคนเหล่านี้หายจากโรค ปรากฏว่าคนที่กลับมาเป็นโรคนี้ใหม่ ร้อยละ ๗๕ ประสบเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกข์มาก ส่วนคนที่ไม่เป็นโรคนี้ มีเพียงร้อยละ ๑๒ เท่านั้นที่ผ่านเหตุการณ์อย่างเดียวกัน ในขณะที่ความเครียดและความวิตกกังวลมีผลในการก่อโรค ความรู้สึกผ่อนคลาย แช่มชื่นเบาสบาย ไร้วิตกกังวล ก็ย่อมช่วยให้สุขภาพดีขึ้น หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วขึ้น หรือมีอายุยืน มีการวิจัยเป็นอันมากที่ยืนยันเรื่องนี้ เมื่อปี ๒๕๔๐ ได้มีการศึกษาผู้มีอายุระหว่าง ๕๕-๘๕ ปีจำนวนกว่า ๒,๘๐๐ คนในอเมริกา พบว่าคนที่รู้สึกว่าควบคุมชีวิตตนได้มีอัตราการตายน้อยกว่าคนที่รู้สึกท้อแท้กับชีวิตถึงร้อยละ ๖๐ ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มองโลกในแง่ดีหรือสามารถจัดการกับความโกรธได้ดีมีแนวโน้มที่จะอยู่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่มีความเครียดหรือเก็บกดความโกรธเอาไว้ ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย นั้นทำได้หลายอย่าง วิธีหนึ่งก็คือการสวดมนต์ ในอเมริกาพบว่าในบรรดาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจนั้น คนที่มีศรัทธาและได้กำลังใจจากศาสนามีอัตราการตายน้อยกว่าคนที่ไม่ได้สนใจศาสนาถึง ๑ ใน ๓ ส่วนคนที่ไปวัดสม่ำเสมอก็มีอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ไปถึงครึ่งหนึ่ง แม้ว่าจะนำเอาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมสุขภาพมาพิจารณาในการวิจัยแล้วก็ตาม นอกจากจิตใจที่สงบ ผ่อนคลายแล้ว ความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็มีผลต่อสุขภาพมาก เคยมีการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ทั้ง ๒ กลุ่มได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการแพทย์แผนใหม่ทุกประการ แต่กลุ่มที่หนึ่งนั้นมีการพบปะพูดคุยกันระหว่างคนไข้ และช่วยเหลือกันตามโอกาส โดยทำเช่นนี้สม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๙๐ นาที ต่อเนื่องนาน ๑ ปี อีกกลุ่มไม่มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม ปรากฏว่าอัตราการอยู่รอดของกลุ่มแรกมากเป็น ๒ เท่าของกลุ่มที่สอง และยังพบอีกว่าในกลุ่มที่สองนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ๕ ปี ไม่มีผู้ป่วยคนใดมีชีวิตรอดเลย สภาวะจิตใจและความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น มีผลต่อร่างกายอย่างมิอาจปฏิเสธได้ การรักษาที่เน้นแต่การเยียวยาร่างกายหรืออวัยวะเฉพาะส่วน แต่ไม่สนใจสภาวะจิตใจของผู้ป่วยหรือความสัมพันธ์ที่เขามีกับผู้อื่น ย่อมเป็นได้แค่การรักษา “โรค” แต่มิใช่การรักษา “คน” ซึ่งในที่สุดแล้วก็มิอาจรักษาโรคได้ด้วยซ้ำ หรือถึงรักษาได้ โรคก็กลับมาใหม่ จะในลักษณะเดิมหรือลักษณะใหม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ในระยะหลังจึงมีการให้ความสำคัญกับมิติด้านจิตใจและสังคมมากขึ้น แม้กระทั่งในโรงพยาบาลที่ใช้การแพทย์แผนใหม่ โรงพยาบาลเหล่านี้ถึงแม้จะยังใช้วิธีการรักษาร่างกายเฉพาะจุดเฉพาะส่วนเหมือนเดิม แต่ก็เพิ่มการฟื้นฟูบำบัดจิตใจขึ้นมา หลายแห่งสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สวดมนต์ภาวนาตามความเชื่อของตน โดยเปิดห้องสวดมนต์หรือห้องทำสมาธิขึ้นในโรงพยาบาล ไม่ถือว่าเป็นเรื่องไสยศาสตร์อีกต่อไป ผู้บริหารโรงพยาบาลพบว่าวิธีนี้สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่าการพึ่งพายาและเทคโนโลยีซึ่งมีราคาแพงขึ้นทุกวัน แม้ว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะยังคงเน้นการรักษาอวัยวะมากกว่าที่จะสนใจเรื่องจิตใจหรือความรู้สึกผูกพันของผู้ป่วยในฐานะมนุษย์ แต่ประสบการณ์ของแพทย์และพยาบาลจำนวนไม่น้อยก็เป็นหลักฐานยืนยันว่า จิตใจนั้นมีอานุภาพในการเยียวยารักษา ความเมตตาของหมอและพยาบาลสามารถทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นโดยที่ยังไม่ทันได้ให้ยาเลยด้วยซ้ำ เซอร์ วิลเลียม ออสเลอร์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษและอเมริกาเมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ เคยกล่าวว่า ผลสำเร็จในการบำบัดรักษาของเขานั้นเป็นเพราะบุคลิกและพฤติกรรมของเขา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความรู้ทางการแพทย์ของเขาเลย นายแพทย์วิลเลียม เฮนรี เวลซ์ ซึ่งเป็นคนสำคัญในการบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในอเมริกาได้พูดถึงบิดาของเขา ซึ่งเป็นหมอเหมือนกันว่า “ทันทีที่ท่านเข้าห้องผู้ป่วย คนป่วยจะรู้สึกดีขึ้นทันที บ่อยครั้งมิใช่เพราะการรักษาของท่าน แต่เป็นเพราะการปรากฏตัวของท่านต่างหากที่รักษาผู้ป่วยให้หายได้” ศรัทธาในแพทย์และความหวังว่าจะหายเมื่อได้พบแพทย์มีผลอย่างมากต่ออาการทางกายของผู้ป่วย แต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือบุคลิกที่เปี่ยมด้วยเมตตาของแพทย์และพยาบาล เมตตาจิตนั้นมีพลังอย่างที่เราอาจนึกไม่ถึง การรักษาด้วยวิธีการที่ต่างไปจากการแพทย์แผนใหม่ อาทิ ชีวจิต ธรรมชาติบำบัด แมคโครไบโอติคส์ หากสามารถเยียวยาผู้ป่วยให้พ้นจากโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง ได้ ก็เพราะให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสภาวะจิตใจ และการใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ในการเยียวยารักษา โดยทำไปพร้อมกับการฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายทั้งระบบ แม้ว่าวิธีการเหล่านี้จะไม่สามารถอธิบายให้ละเอียดลงไปถึงระดับเซลหรือโมเลกุลอย่างที่การแพทย์แผนใหม่ถนัดก็ตาม แต่นั่นก็ไม่สำคัญเพราะชีวิตนั้นมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรือเครื่องสแกนสมอง ดังที่พอล ไวส์ นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้กล่าวว่า “ไม่มีปรากฏการณ์ใด ๆ ในระบบของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถอธิบายได้ในระดับโมเลกุล แต่ก็ไม่มีปรากฏการณ์ใดเลยที่อธิบายได้เฉพาะในระดับโมเลกุล” ความเครียด ความวิตกกังวล ความท้อแท้สิ้นหวัง ในทางพุทธศาสนาจัดว่าเป็นโรคอย่างหนึ่ง คือโรคทางใจ และโรคทางใจนี้มีความหมายรวมไปถึง “ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท” โรคทางใจเหล่านี้ถึงที่สุดแล้วเกิดจากความติดยึดที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ปรารถนาให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจตน เมื่อไม่ได้ดังใจ จึงเกิดโรคเหล่านี้ขึ้นมา พูดอีกอย่างคือเป็นโรคที่เกิดจากความยึดมั่นในตัวตน โรคทางใจเหล่านี้ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคทางวิญญาณ”ในการบำบัดโรคทางใจหรือโรคทางวิญญาณดังกล่าว การทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบ ผ่อนคลาย สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ได้ผลอย่างแท้จริงและยั่งยืน ต้องอาศัยการเปลี่ยนทัศนคติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องหรือสอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกว่าปัญญา ปัญญานั้นมีหลายระดับ เริ่มจากการเห็นว่าความเจ็บป่วยนั้นเป็นธรรมดาของชีวิต ความเข้าใจดังกล่าวช่วยให้ยอมรับความเจ็บป่วยได้ โดยใจไม่ทุกข์ทรมานไปกับอาการดังกล่าวมากนัก หรือการเห็นว่าโรคใด ๆ ก็ตามไม่น่ากลัวเท่ากับความกลัวต่อโรคนั้น ความสำเร็จของชีวจิตส่วนหนึ่งอยู่ที่การทำให้ผู้ป่วยเห็นว่ามะเร็งไม่ใช่โรคร้ายที่น่าสะพรึงกลัว แม้จะเป็นมะเร็งหรือมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เราก็สามารถมีความสุขได้ และอาจสุขยิ่งกว่าตอนก่อนป่วยด้วยซ้ำ ปัญญาขั้นที่สูงไปกว่านั้นคือ การเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะยึดมาเป็นตัวตนได้ แม้แต่ร่างกายก็ไม่ใช่ของเราจริง ๆ ปัญญาดังกล่าวช่วยให้ปล่อยวางในร่างกาย และไม่ยึดเอาทุกขเวทนาทางกายมาเป็นของตน ดังนั้นแม้จะป่วยกาย แต่ก็ไม่ป่วยใจ ปัญญาที่ละวางความยึดติดในตัวตนนี้ ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และโปร่งเบา ปลอดพ้นจากความเครียด ความโกรธ ความริษยา ความแข่งดี ความถือตัว เป็นต้น ปัญญาที่พัฒนาเต็มขั้นย่อมทำให้เป็นอิสระจากโรคทางใจได้อย่างสิ้นเชิง สุขภาวะหรือสุขภาพที่เกิดจากปัญญาดังกล่าว อาจเรียกว่าสุขภาวะทางปัญญาก็ได้
วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2006 at ที่
21:10 น. by knoom
ป้ายกำกับ: ,

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เยือนสามค่ายเยาวชนฤดูร้อนที่เชียงดาว

เยือนสามค่ายเยาวชนฤดูร้อนที่เชียงดาว

ที่มา : ข่าวประชาไท 24/5/2551 www.prachatai.com

สาริกาหัวทุ่ง
สำ​นักข่าวเชียงดาว



ปิดเทอมฤดูร้อนที่​เพิ่งผ่าน​ ​เชียงดาว​ ​เมือง​เล็กๆ​ ​ใน​หุบ​เขา​ได้​รับพลัง​และ​ชีวิตชีวา​แห่งวัยเยาว์อย่างล้นเหลือ​จาก​ เด็กๆ​ ​ยุวชนหลายภาคที่​เดินทางมา​เข้า​ร่วมกิจกรรมค่าย​ซึ่ง​จัดขึ้น​ถึง​สามค่าย ​ด้วย​กัน

ค่ายแรก​นั้น​จัดขึ้นที่มูลนิธิสื่อชาวบ้าน​ ​หรือ​กลุ่มละครมะขามป้อม​ ​ซึ่ง​ไม่​ได้​มีที่ทำ​การเฉพาะ​ใน​กรุงเทพฯ​เท่า​นั้น​ ​แต่​ยัง​ได้​ขยายพันธุ์มาหยั่งรากลงที่​เชียงดาว​ ​ตั้งศูนย์ละครชุมชน​และ​จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ​ใน​ท้องนา​ ​ใกล้ๆ​ ​กับ​แม่น้ำ​ปิง​ ​
มียอดดอยเชียงดาวตั้งตระหง่าน​อยู่​ไม่​ไกล​ “ค่ายละครเพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพ” ​คือชื่อเรียกขานอย่าง​เป็น​ทางการ

เด็กๆ​ ​เกือบ​ 50​ชีวิต​ ​ทั้ง​จาก​ลำ​พูน​ ​กรุงเทพฯ​ ​อุบลราชธานี​ ​สงขลา​ ​น่าน​ ​แม่ฮ่องสอน​ ​และ​เชียง​ใหม่​ ​รวม​ทั้ง​เด็กเชียงดาวเอง​ ​มารวมตัว​กัน​ตั้งแต่วันที่​ 16 ​เมษายนที่ผ่านมา​ ​เพื่อฝึกฝนเรียนรู้ทักษะด้านการละคร​ ​และ​ใช้​ชีวิตร่วม​กัน​ภาย​ใต้​การดู​แลของพี่​เลี้ยง​และ​วิทยากรจน​ถึง​ วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​หลัง​จาก​นั้น​ ​พอค่ายละคร​ใกล้​จะ​จาก​ลา​ ​เด็กอีกกลุ่ม​ใหญ่​ก็​เดินทางมา​ถึง​ริมดอยรีสอร์ต​ ​บนไหล่​เขา​ ​ริมทางสู่อำ​เภอเวียงแหง​ ​เพื่อ​เข้า​ร่วมกิจกรรม​ “ค่ายสร้างสรรค์ภาษา​และ​วรรณกรรม” ​ตั้งแต่วันที่​27 ​เมษายน​ ​ไปจน​ถึง​ 6 ​พฤษภาคม

ทั้ง​สองค่ายที่กล่าวมา​ ​คือ​ส่วน​หนึ่ง​ใน​โครงการค่ายที่จัดขึ้น​ใน​ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน​ 9 ​ค่ายของศูนย์ส่งเสริมอัจฉริยภาพ​และ​การเรียนรู้​แห่งชาติ​ ​หรือ​ ​สสอน​. ​หนึ่ง​ใน​หน่วยงานของสำ​นักบริหารองค์​ความ​รู้​แห่งชาติ​ ​เจ้าของโครงการ​ TKPark ที่​เรา​เห็นผ่านจอโทรทัศน์​ ​จาก​เดิมที่มี​เพียงค่ายวิชาการ​ ​ปีนี้มีการจัดค่ายเฉพาะทางเพิ่มขึ้น​ได้​แก่​ ​ค่ายศิลปะ​ ​ค่ายดนตรี​ ​ค่ายละคร​ ​และ​วรรณกรรม​

ซึ่ง​นับ​เป็น​นิมิตหมายอันดียิ่ง​ใน​การพัฒนา​เยาวชนของชาติ​เพื่อ​ ความ​เป็น​อัจฉริยะรอบด้าน​ทั้ง​สมอง​และ​หัวใจ​ ​เป็น​เรื่องพิ​เศษที่สถานที่ตั้งค่ายวรรณกรรม​และ​ ละครมาประจวบเหมาะพอดีที่​เชียงดาว​ ​เมือง​เล็กๆ​ ​เงียบสงบ​ ​ต้นธารน้ำ​แม่ปิง​ ​ซึ่ง​มีธรรมชาติ​แวดล้อมอันสวยงามสมบูรณ์ เหมาะแก่การสร้างแรงบันดาลใจ​ทางศิลปะ​



ใน​ส่วน​ของค่ายวรรณกรรม​ซึ่ง​ดำ​เนินการ​โดย​ภาควิชาภาษา​ไทย​ ​คณะมนุษยศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยเชียง​ใหม่​นั้น​ ​แบ่งการเรียนรู้​เป็น​สามกลุ่ม​ ​กลุ่มที่สอนเกี่ยว​กับ​การพูด​ ​วิทยากรคืออาจารย์สมพงษ์​ ​วิทยศักดิ์พันธ์ ​ส่วน​บทกวี​ ​เรื่องสั้น​-​นวนิยาย​ ​นั้น​มีวิทยากรที่​เป็น​กวี​และ​นักเขียนซี​ไรต์​ถึง​ 3 ​ท่าน​ได้​แก่​ ​อาจารย์มาลา​ ​คำ​จันทร์ ​สอนเกี่ยว​กับ​เรื่องสั้น​และ​นิยาย​ ​อาจารย์แรคำ​ ​ประ​โดย​คำ ​สอนเรื่องกวีนิพนธ์ร่วม​กับ​กวีล้านนา​ ​อาจารย์วิลักษณ์​ ​ศรีป่าซาง ​และ​กวีซี​ไรต์​ใน​ดวงใจเด็กๆ​ ​เนาวรัตน์​ ​พงษ์​ไพบูลย์​ ​วิทยากรรับเชิญ​ซึ่ง​มาร่วมบรรยาย​ ​อ่านบทกวี​ ​และ​เป่าขลุ่ย​ให้​เด็กๆ​ ​ฟังอย่าง​ได้​จินตนาการตลอดหนึ่งวันเต็มๆ​

ส่วน​ค่ายละครมะขามป้อม​นั้น​ ​นอก​จาก​พี่​เลี้ยง​ซึ่ง​เป็น​เจ้าหน้าที่ฝ่ายละคร​เข้า​มาทำ​หน้าที่ดู​แล ​ ​และ​จัดกระบวนการเรียนรู้​ให้​แก่​เด็กๆ​ ​แล้ว​ ​ยัง​มีวิทยากรนักละคร​ ​คุณประดิษฐ์​ ​ประสาททอง ​เลขานุการมูลนิธิฯ​ ​มา​ให้​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​เทคนิค​-​อาวุธนักแสดง​ ​คุณริชาร์ด​ ​บาร์​เบอร์ ​เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประ​เทศ​ ​สอนเรื่องดนตรีสร้างสรรค์​ ​แนะนำ​วิธีสร้างเสียงต่างๆ​ ​จาก​วัสดุที่หา​ได้​ใกล้ๆ​ ​ตัว​ ​โดย​มีคุณพฤหัส​ ​พหลกุลบุตร ​ผู้​อำ​นวยการฝ่ายละครการศึกษาทำ​หน้าที่​ผู้​อำ​นวยการดู​แล​ความ​ เรียบร้อยของค่าย​

กระบวนการของมะขามป้อม​นั้น​รวมการคิดเรื่อง​ ​การสร้างภาพนิ่ง​ ​ภาพเคลื่อนไหว​ ​และ​บทพูดที่ต่อ​เนื่อง​เป็น​เรื่องราวของละครร้อย​เข้า​ด้วย​กัน​ ​โดย​เน้นการทำ​งาน​เป็น​ทีม​ให้​เด็กๆ​ ​ร่วม​ด้วย​ช่วย​กัน​ทุกขั้นตอน​ ​นอก​จาก​นั้น​แนวทางละครชุมชนที่พวก​เขา​มีประสบการณ์มายี่สิบกว่าปีก็ทำ​ ให้​ชาวเชียงดาวพลอย​ได้​ชมผลงานละครสร้างสรรค์ของเด็ก​ถึง​หน้าตลาด​ ​และ​กลางลานวัด​

น้องๆ​ ​ยัง​ได้​เข้า​ไปทำ​ความ​รู้จัก​กับ​ชุมชนเชียงดาว​ ​นำ​ความ​รู้ที่​ได้​จาก​การสังเกต​และ​สัมภาษณ์​ ​มาฝึกฝนทักษะการสวมบทบาทการแสดง​ ​และ​สร้างเนื้อหาละครสองเรื่อง​ ​สำ​หรับละครโรง​ใหญ่​ที่จัดขึ้นก่อนปิดค่าย​ ​เปิดโอกาส​ให้​ทั้ง​เด็ก​และ​ผู้​ใหญ่​ชาวเชียงดาว​เข้า​ชม​ ​ส่วน​เด็กๆ​ ​จาก​ค่ายวรรณกรรม​นั้น​ได้​ไปเที่ยวถ้ำ​เชียงดาวอันมีหินงอกหินย้อยสวยงาม​ ​และ​คารวะสถูป​ ​อนุสรณ์สถานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่​ ​ต​.​เมืองงาย​ ​ก่อน​จะ​กลับมาสร้างสรรค์​เป็น​งานเขียน

เด็กๆ​ ​เหล่านี้​เลือกมาค่าย​ด้วย​ใจรัก​ ​น้องๆ​ ​ที่มาค่ายวรรณกรรมมีพื้นฐานการเรียนวิชาภาษาที่ดีมาก่อน​ ​(​ต้อง​ได้​เกรด​ 4) ​และ​เขียนเรียง​ความ​ “ค่าย​ใน​ฝัน” ​ชนะ​ใจกรรมการจน​ได้​รับคัดเลือก​ ​เช่นเดียว​กับ​ค่ายละคร​ ​เด็ก​ส่วน​ใหญ่​มีประสบการณ์มาบ้าง​แล้ว​ ​ใน​ระดับท้องถิ่น​หรือ​ละครโรงเรียน​ ​และ​มี​ใจรักด้านการแสดง​ ​จำ​นวนเด็กที่มาค่าย​นั้น​คละ​กัน​ไป​ ​ระหว่างเด็กหัวแหลม​ ​หรือ​เด็ก​ใน​โครงการของ​ ​สสอน​.​กับ​เด็ก​ทั่ว​ไปที่สนใจสมัคร​

“ประทับใจค่ายนี้มากค่ะ​ ​ได้​เจอกวี​ใน​ดวงใจ​ ​ได้​รู้จักเพื่อนพี่ดีๆ​ ​ที่​เรา​สามารถ​ปรึกษา​ได้​ทุกเรื่อง” ​น้องฝน​ ​หรือ​ ​ด​.​ญ​ ​สุพิชญา​ ​ขัตติยะมาน​ ​ชั้นม​.2 ​ร​.​ร​ ​มหาวชิราวุธสงขลา​ ​จาก​ค่ายสร้างสรรค์วรรณกรรม​และ​ภาษากล่าว​

“ประทับใจเพื่อนๆ​ ​มากที่สุดครับ​ ​เพราะ​เป็น​การรวมคนที่ชอบสิ่งเดียว​กัน​มา​อยู่​ด้วย​กัน​ ​พูดนิดเดียวก็​เข้า​ใจ” ​น้องไวไว​ ​หรือ​ชวิน​ ​พงษ์ผจญ​ ​ชั้น​ ​ม​.5 ​ร​.​ร​ ​บดินทรเดชา​ ​นักกลอนมือรางวัล​จาก​ค่ายเดียว​กัน​กล่าว

“ปีหน้าหนูก็​จะ​ไปค่ายนี้ค่ะ​ ​ไม่​ไปค่าย​อื่น​ ​ชอบค่ายละครที่สุด” ​น้องเชน​ ​ด​.​ญ​.​ชาวาร์​ ​เกษมสุข​ ​ม​.2 ​ร​.​ร​.​เชียงดาววิทยาคม​ ​จาก​ค่ายละครกล่าวตา​แดงๆ​ ​ขณะ​โบกมืออำ​ลา​เพื่อนๆ​

ทั้ง​สองค่ายข้างต้น​นั้น​เป็น​โครงการ​จาก​ส่วน​กลาง​ ​ยกเว้นค่ายสุดท้าย​ซึ่ง​จัดขึ้นช่วงสั้นๆ​ ​เมื่อวันที่​ 8-10 ​พฤษภาคม​ 2552 ​ณ​ ​หน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​ ​บน​เขา​ลูกหนึ่งแห่งเทือกทิวที่กั้นระหว่างอำ​เภอเชียงดาว​และ​พร้าว



ค่าย​ “เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำ​แม่ป๋าม” เกิดขึ้น​จาก​ความ​ร่วมมือของคน​เล็กๆ​ใน​ท้องถิ่น​ ​ระหว่างหน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​, ​มูลนิธิสื่อชาวบ้าน​ (มะขามป้อม) ​รวม​ทั้ง​กวี​ ​และ​นักเขียน​ใน​ชุมชนอำ​เภอเชียงดาว​ ​โดย​การสนับสนุน​จาก​องค์การบริหาร​ส่วน​ตำ​บลปิงโค้ง​

น้องๆ​ ​ที่​เข้า​ร่วมกิจกรรม​เป็น​เด็กเชียงดาว​จาก​หลายหมู่บ้าน​ ​ตั้งแต่ระดับม​.​ต้นจน​ถึง​ม​.​ปลาย​ ​จุดประสงค์ของค่ายมุ่ง​ให้​เด็กๆ​ได้​รู้จักรักใคร่สมัครสมาน​กัน​ ผ่านสายสัมพันธ์ทางสายน้ำ​ ​โดย​อาศัยน้ำ​ป๋าม​ ​ซึ่ง​เป็น​สายน้ำ​ใหญ่​ใน​ ​ต​.​ปิงโค้ง​เป็น​หลัก​ ​ก่อนที่น้ำ​ป๋าม​จะ​ไหลไปรวม​กับ​น้ำ​ปิง​เข้า​สู่ตัวเมืองเชียงดาว​นั้น​ มีสายน้ำ​ย่อยหลายสายไหลมาสมทบ​ ​เด็กๆ​ ​มา​จาก​ชุมชนต้นน้ำ​เหล่า​นั้น​นั่นเอง​ ​ทั้ง​เด็กพื้นราบ​ ​เด็กชนเผ่า​ ​ปะกากะญอ​ ​และ​ลาหู่​ ​พวก​เขา​เหล่านี้อาศัย​อยู่​ตามป่า​เขา​และ​ไหล่ดอย​ ​เป็น​ผู้​ที่​อยู่​ใกล้​ชิดป่า​ไม้​ ​คือคนสำ​คัญที่​จะ​ช่วย​ดู​แลต้นน้ำ​ให้​สะอาดเปี่ยมเต็มสำ​ หรับคนเมืองมากมายที่​อยู่​ปลายน้ำ


กิจกรรม​ใน​ค่ายนอก​จาก​เกม​ ​การสันทนาการที่​เป็น​กระบวนการเรียนรู้​เพื่อ​ให้​น้องๆ​ ​เกิด​ความ​เข้า​ใจ​ความ​สัมพันธ์ของตน​และ​ธรรมชาติ​แล้ว​ ​ยัง​มีวิทยากร​ซึ่ง​เป็น​ผู้​รู้​ใน​ชุมชนมา​ให้​ความ​รู้​และ​อยู่​ร่วม​ กับ​พวก​เขา​ตลอด​ทั้ง​สามวัน​ ​เด็กๆ​ ​ได้​ฟังเรื่องราว​ความ​เป็น​มาของหมู่บ้าน​ ​ป่า​เขา​ ​การทำ​มาหา​เลี้ยงชีพ​ ​การหา​อยู่​หากิน​ใน​อดีต​จาก​ผู้​เฒ่า​ผู้​แก่​ ​และ​ได้​เรียนรู้​จาก​การเดินป่ารอบๆ​ ​บริ​เวณที่ตั้งค่าย​ ​โดย​มีปราชญ์ชาวบ้าน​ ​คุณภาคภูมิ​ ​โปธา ​และ​เจ้าหน้าที่ท่าน​อื่น​จาก​หน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​ ​พา​ไปดู​แนวป้อง​กัน​ไฟป่า​ ​ศึกษา​แหล่งน้ำ​ซับ​ ​ชีวิตสัตว์​ ​และ​พืชผักอาหารป่า​ ​จาก​ป่า​เขา​อันมีชีวิต​

นอก​จาก​นั้น​พวก​เขา​ยัง​ได้​ทดลองทำ​สื่ออย่างง่าย​ ​เพื่อนำ​ความ​รู้ที่​ได้​ไปเผยแพร่​ ​เด็กๆ​สนใจสร้างงาน​กัน​อย่างกระตือรือร้น​ ​วิทยากร​จาก​ฝ่ายละครชุมชนมะขามป้อม​ ​คุณสุรารักษ์​ ​ใจวุฒิ ​และ​นักเขียนนักแปล​ ​รวิวาร​ ​โฉมเฉลา​ ​ร่วมสอนการทำ​สื่อประชาสัมพันธ์​ ​คุณวีรวรรณ​ ​กังวานนวกุล ​จาก​ฝ่ายละครการศึกษาสอนเด็กๆ​ ​เรื่องละคร​ ​ส่วน​นิทรรศการเคลื่อนที่​นั้น​มีคุณพายัพ​ ​แก้วเกร็ด ​นักจัดกิจกรรม​และ​ศิลปินอิสระ​จาก​กรุงเทพฯ​ ​เป็น​ผู้​ให้​ความ​รู้​ ​นอก​จาก​นั้น​เด็กๆ​ ​ยัง​ได้​รับฟังดนตรี​จาก​กวีนักเขียน​ ​สุวิชานนท์​ ​รัตนภิมล​ ​ซึ่ง​เดินทางมาร้องเพลง​ให้​น้องๆ​ ​ฟัง​ด้วย​ใจ​ ​และ​ได้​ฝึกหัดร้องเพลงค่าย​ ​ซึ่ง​แต่ง​และ​ร้อง​โดย​พี่กวี​ ​ภู​ ​เชียงดาว​ ​ใน​ค่ำ​คืนพรายดาวคืนหนึ่ง


วันสุดท้าย​ ​เด็กๆ​ ​เฮโล​กัน​ขึ้นนั่งท้ายรถกระบะ​ ​เดินทางไปบ้านป่าตึงงามที่​อยู่​ไม่​ไกล​นักเพื่อนำ​ผลงานที่​ได้​จาก​ การเรียนรู้​ไปทดลองเผยแพร่​ ​พวก​เขา​มุ่งตรงไป​ยัง​ศูนย์​เด็ก​เล็ก​ใน​หมู่บ้าน​ ​จัดการแขวนป้ายผ้ารณรงค์​เรื่องน้ำ​ ​แสดงละคร​ให้​เด็ก​เล็กๆ​ ​ดู​ ​และ​เสนอนิทรรศการตัวการ์ตูนหุ่นกระดาษระบายสีสวมลงบนตัว​ ​ตรงพุงมีข้อ​ความ​เกี่ยว​กับ​การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม



นั่นคือ​ ​พลังเยาวชน​จาก​กิจกรรมค่ายที่​เชียงดาว​ ​แม้ว่าสองค่ายแรก​จะ​เป็น​เด็ก พิ​เศษ​ ​มา​จาก​เมือง​ ​มี​ความ​สามารถ​โดดเด่น​ ​ส่วน​เด็กกลุ่มหลัง​อยู่​ใน​พื้นที่ห่าง​ไกล​ ​บางคนอาจ​ไม่​กล้า​แม้​แต่​จะ​พูดภาษา​ไทย​ ​ทว่า​ ​สิ่งที่​เหมือนๆ​ ​กัน​ ​คือแววตา​เปล่งประกายที่​เกิดขึ้นขณะ​อยู่​ค่าย​ ​ความ​สุข​ ​สนุกสนาน​ ​และ​แรงบันดาลใจที่​แสดงออก​ใน​ผลงาน​และ​อากัปกิริยา​ ​รวม​ทั้ง​โลกทัศน์​และ​ชีวทัศน์​ใหม่​ที่พวก​เขา​จะ​ได้​ติดตัวกลับไป​ ​ชวน​ให้​คิดว่า​ ​การจัดค่ายน่า​จะ​เป็น​กิจกรรมสร้างสรรค์ที่​ผู้​ใหญ่​สามารถ​ทำ​ให้​เด็ก​ ได้​ ​อาจ​จะ​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​ยิ่ง​ใหญ่​ ​หรือ​อาศัย​ผู้​เชี่ยวชาญ​ ​ค่าตัวแพงๆ​ ​เพียงแค่ค่าย​เล็กๆ​ ​ใน​ชุมชน​ ​สำ​หรับ​เป็น​แหล่งเรียนรู้​และ​เป็น​ทางเลือก​ให้​กับ​เด็ก​และ​เยาวชน​ใน ​ช่วงวันหยุดยาว​ ​หรือ​ช่วงปิดภาคเรียน​ ​เพื่อที่​แหล่งเกมออนไลน์​ ​หรือ​กิจกรรม​อื่น​อัน​ไม่​สร้างสรรค์​จะ​ไม่​ฉกชิงประชาชนน้อยๆ​ ​เหล่านี้​ไป​....

เราอาจ​จะ​พอหวัง​ได้​ว่า​ ​ใน​อนาคต​จะ​มี​ผู้​ใหญ่​เปี่ยมคุณภาพ​และ​จิตสำ​นึก​ ​เกิดขึ้น​ใน​บ้านเมืองมิ​ใช่​น้อย


วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551