วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เยือนสามค่ายเยาวชนฤดูร้อนที่เชียงดาว

เยือนสามค่ายเยาวชนฤดูร้อนที่เชียงดาว

ที่มา : ข่าวประชาไท 24/5/2551 www.prachatai.com

สาริกาหัวทุ่ง
สำ​นักข่าวเชียงดาว



ปิดเทอมฤดูร้อนที่​เพิ่งผ่าน​ ​เชียงดาว​ ​เมือง​เล็กๆ​ ​ใน​หุบ​เขา​ได้​รับพลัง​และ​ชีวิตชีวา​แห่งวัยเยาว์อย่างล้นเหลือ​จาก​ เด็กๆ​ ​ยุวชนหลายภาคที่​เดินทางมา​เข้า​ร่วมกิจกรรมค่าย​ซึ่ง​จัดขึ้น​ถึง​สามค่าย ​ด้วย​กัน

ค่ายแรก​นั้น​จัดขึ้นที่มูลนิธิสื่อชาวบ้าน​ ​หรือ​กลุ่มละครมะขามป้อม​ ​ซึ่ง​ไม่​ได้​มีที่ทำ​การเฉพาะ​ใน​กรุงเทพฯ​เท่า​นั้น​ ​แต่​ยัง​ได้​ขยายพันธุ์มาหยั่งรากลงที่​เชียงดาว​ ​ตั้งศูนย์ละครชุมชน​และ​จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ​ใน​ท้องนา​ ​ใกล้ๆ​ ​กับ​แม่น้ำ​ปิง​ ​
มียอดดอยเชียงดาวตั้งตระหง่าน​อยู่​ไม่​ไกล​ “ค่ายละครเพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพ” ​คือชื่อเรียกขานอย่าง​เป็น​ทางการ

เด็กๆ​ ​เกือบ​ 50​ชีวิต​ ​ทั้ง​จาก​ลำ​พูน​ ​กรุงเทพฯ​ ​อุบลราชธานี​ ​สงขลา​ ​น่าน​ ​แม่ฮ่องสอน​ ​และ​เชียง​ใหม่​ ​รวม​ทั้ง​เด็กเชียงดาวเอง​ ​มารวมตัว​กัน​ตั้งแต่วันที่​ 16 ​เมษายนที่ผ่านมา​ ​เพื่อฝึกฝนเรียนรู้ทักษะด้านการละคร​ ​และ​ใช้​ชีวิตร่วม​กัน​ภาย​ใต้​การดู​แลของพี่​เลี้ยง​และ​วิทยากรจน​ถึง​ วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​หลัง​จาก​นั้น​ ​พอค่ายละคร​ใกล้​จะ​จาก​ลา​ ​เด็กอีกกลุ่ม​ใหญ่​ก็​เดินทางมา​ถึง​ริมดอยรีสอร์ต​ ​บนไหล่​เขา​ ​ริมทางสู่อำ​เภอเวียงแหง​ ​เพื่อ​เข้า​ร่วมกิจกรรม​ “ค่ายสร้างสรรค์ภาษา​และ​วรรณกรรม” ​ตั้งแต่วันที่​27 ​เมษายน​ ​ไปจน​ถึง​ 6 ​พฤษภาคม

ทั้ง​สองค่ายที่กล่าวมา​ ​คือ​ส่วน​หนึ่ง​ใน​โครงการค่ายที่จัดขึ้น​ใน​ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน​ 9 ​ค่ายของศูนย์ส่งเสริมอัจฉริยภาพ​และ​การเรียนรู้​แห่งชาติ​ ​หรือ​ ​สสอน​. ​หนึ่ง​ใน​หน่วยงานของสำ​นักบริหารองค์​ความ​รู้​แห่งชาติ​ ​เจ้าของโครงการ​ TKPark ที่​เรา​เห็นผ่านจอโทรทัศน์​ ​จาก​เดิมที่มี​เพียงค่ายวิชาการ​ ​ปีนี้มีการจัดค่ายเฉพาะทางเพิ่มขึ้น​ได้​แก่​ ​ค่ายศิลปะ​ ​ค่ายดนตรี​ ​ค่ายละคร​ ​และ​วรรณกรรม​

ซึ่ง​นับ​เป็น​นิมิตหมายอันดียิ่ง​ใน​การพัฒนา​เยาวชนของชาติ​เพื่อ​ ความ​เป็น​อัจฉริยะรอบด้าน​ทั้ง​สมอง​และ​หัวใจ​ ​เป็น​เรื่องพิ​เศษที่สถานที่ตั้งค่ายวรรณกรรม​และ​ ละครมาประจวบเหมาะพอดีที่​เชียงดาว​ ​เมือง​เล็กๆ​ ​เงียบสงบ​ ​ต้นธารน้ำ​แม่ปิง​ ​ซึ่ง​มีธรรมชาติ​แวดล้อมอันสวยงามสมบูรณ์ เหมาะแก่การสร้างแรงบันดาลใจ​ทางศิลปะ​



ใน​ส่วน​ของค่ายวรรณกรรม​ซึ่ง​ดำ​เนินการ​โดย​ภาควิชาภาษา​ไทย​ ​คณะมนุษยศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยเชียง​ใหม่​นั้น​ ​แบ่งการเรียนรู้​เป็น​สามกลุ่ม​ ​กลุ่มที่สอนเกี่ยว​กับ​การพูด​ ​วิทยากรคืออาจารย์สมพงษ์​ ​วิทยศักดิ์พันธ์ ​ส่วน​บทกวี​ ​เรื่องสั้น​-​นวนิยาย​ ​นั้น​มีวิทยากรที่​เป็น​กวี​และ​นักเขียนซี​ไรต์​ถึง​ 3 ​ท่าน​ได้​แก่​ ​อาจารย์มาลา​ ​คำ​จันทร์ ​สอนเกี่ยว​กับ​เรื่องสั้น​และ​นิยาย​ ​อาจารย์แรคำ​ ​ประ​โดย​คำ ​สอนเรื่องกวีนิพนธ์ร่วม​กับ​กวีล้านนา​ ​อาจารย์วิลักษณ์​ ​ศรีป่าซาง ​และ​กวีซี​ไรต์​ใน​ดวงใจเด็กๆ​ ​เนาวรัตน์​ ​พงษ์​ไพบูลย์​ ​วิทยากรรับเชิญ​ซึ่ง​มาร่วมบรรยาย​ ​อ่านบทกวี​ ​และ​เป่าขลุ่ย​ให้​เด็กๆ​ ​ฟังอย่าง​ได้​จินตนาการตลอดหนึ่งวันเต็มๆ​

ส่วน​ค่ายละครมะขามป้อม​นั้น​ ​นอก​จาก​พี่​เลี้ยง​ซึ่ง​เป็น​เจ้าหน้าที่ฝ่ายละคร​เข้า​มาทำ​หน้าที่ดู​แล ​ ​และ​จัดกระบวนการเรียนรู้​ให้​แก่​เด็กๆ​ ​แล้ว​ ​ยัง​มีวิทยากรนักละคร​ ​คุณประดิษฐ์​ ​ประสาททอง ​เลขานุการมูลนิธิฯ​ ​มา​ให้​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​เทคนิค​-​อาวุธนักแสดง​ ​คุณริชาร์ด​ ​บาร์​เบอร์ ​เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประ​เทศ​ ​สอนเรื่องดนตรีสร้างสรรค์​ ​แนะนำ​วิธีสร้างเสียงต่างๆ​ ​จาก​วัสดุที่หา​ได้​ใกล้ๆ​ ​ตัว​ ​โดย​มีคุณพฤหัส​ ​พหลกุลบุตร ​ผู้​อำ​นวยการฝ่ายละครการศึกษาทำ​หน้าที่​ผู้​อำ​นวยการดู​แล​ความ​ เรียบร้อยของค่าย​

กระบวนการของมะขามป้อม​นั้น​รวมการคิดเรื่อง​ ​การสร้างภาพนิ่ง​ ​ภาพเคลื่อนไหว​ ​และ​บทพูดที่ต่อ​เนื่อง​เป็น​เรื่องราวของละครร้อย​เข้า​ด้วย​กัน​ ​โดย​เน้นการทำ​งาน​เป็น​ทีม​ให้​เด็กๆ​ ​ร่วม​ด้วย​ช่วย​กัน​ทุกขั้นตอน​ ​นอก​จาก​นั้น​แนวทางละครชุมชนที่พวก​เขา​มีประสบการณ์มายี่สิบกว่าปีก็ทำ​ ให้​ชาวเชียงดาวพลอย​ได้​ชมผลงานละครสร้างสรรค์ของเด็ก​ถึง​หน้าตลาด​ ​และ​กลางลานวัด​

น้องๆ​ ​ยัง​ได้​เข้า​ไปทำ​ความ​รู้จัก​กับ​ชุมชนเชียงดาว​ ​นำ​ความ​รู้ที่​ได้​จาก​การสังเกต​และ​สัมภาษณ์​ ​มาฝึกฝนทักษะการสวมบทบาทการแสดง​ ​และ​สร้างเนื้อหาละครสองเรื่อง​ ​สำ​หรับละครโรง​ใหญ่​ที่จัดขึ้นก่อนปิดค่าย​ ​เปิดโอกาส​ให้​ทั้ง​เด็ก​และ​ผู้​ใหญ่​ชาวเชียงดาว​เข้า​ชม​ ​ส่วน​เด็กๆ​ ​จาก​ค่ายวรรณกรรม​นั้น​ได้​ไปเที่ยวถ้ำ​เชียงดาวอันมีหินงอกหินย้อยสวยงาม​ ​และ​คารวะสถูป​ ​อนุสรณ์สถานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่​ ​ต​.​เมืองงาย​ ​ก่อน​จะ​กลับมาสร้างสรรค์​เป็น​งานเขียน

เด็กๆ​ ​เหล่านี้​เลือกมาค่าย​ด้วย​ใจรัก​ ​น้องๆ​ ​ที่มาค่ายวรรณกรรมมีพื้นฐานการเรียนวิชาภาษาที่ดีมาก่อน​ ​(​ต้อง​ได้​เกรด​ 4) ​และ​เขียนเรียง​ความ​ “ค่าย​ใน​ฝัน” ​ชนะ​ใจกรรมการจน​ได้​รับคัดเลือก​ ​เช่นเดียว​กับ​ค่ายละคร​ ​เด็ก​ส่วน​ใหญ่​มีประสบการณ์มาบ้าง​แล้ว​ ​ใน​ระดับท้องถิ่น​หรือ​ละครโรงเรียน​ ​และ​มี​ใจรักด้านการแสดง​ ​จำ​นวนเด็กที่มาค่าย​นั้น​คละ​กัน​ไป​ ​ระหว่างเด็กหัวแหลม​ ​หรือ​เด็ก​ใน​โครงการของ​ ​สสอน​.​กับ​เด็ก​ทั่ว​ไปที่สนใจสมัคร​

“ประทับใจค่ายนี้มากค่ะ​ ​ได้​เจอกวี​ใน​ดวงใจ​ ​ได้​รู้จักเพื่อนพี่ดีๆ​ ​ที่​เรา​สามารถ​ปรึกษา​ได้​ทุกเรื่อง” ​น้องฝน​ ​หรือ​ ​ด​.​ญ​ ​สุพิชญา​ ​ขัตติยะมาน​ ​ชั้นม​.2 ​ร​.​ร​ ​มหาวชิราวุธสงขลา​ ​จาก​ค่ายสร้างสรรค์วรรณกรรม​และ​ภาษากล่าว​

“ประทับใจเพื่อนๆ​ ​มากที่สุดครับ​ ​เพราะ​เป็น​การรวมคนที่ชอบสิ่งเดียว​กัน​มา​อยู่​ด้วย​กัน​ ​พูดนิดเดียวก็​เข้า​ใจ” ​น้องไวไว​ ​หรือ​ชวิน​ ​พงษ์ผจญ​ ​ชั้น​ ​ม​.5 ​ร​.​ร​ ​บดินทรเดชา​ ​นักกลอนมือรางวัล​จาก​ค่ายเดียว​กัน​กล่าว

“ปีหน้าหนูก็​จะ​ไปค่ายนี้ค่ะ​ ​ไม่​ไปค่าย​อื่น​ ​ชอบค่ายละครที่สุด” ​น้องเชน​ ​ด​.​ญ​.​ชาวาร์​ ​เกษมสุข​ ​ม​.2 ​ร​.​ร​.​เชียงดาววิทยาคม​ ​จาก​ค่ายละครกล่าวตา​แดงๆ​ ​ขณะ​โบกมืออำ​ลา​เพื่อนๆ​

ทั้ง​สองค่ายข้างต้น​นั้น​เป็น​โครงการ​จาก​ส่วน​กลาง​ ​ยกเว้นค่ายสุดท้าย​ซึ่ง​จัดขึ้นช่วงสั้นๆ​ ​เมื่อวันที่​ 8-10 ​พฤษภาคม​ 2552 ​ณ​ ​หน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​ ​บน​เขา​ลูกหนึ่งแห่งเทือกทิวที่กั้นระหว่างอำ​เภอเชียงดาว​และ​พร้าว



ค่าย​ “เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำ​แม่ป๋าม” เกิดขึ้น​จาก​ความ​ร่วมมือของคน​เล็กๆ​ใน​ท้องถิ่น​ ​ระหว่างหน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​, ​มูลนิธิสื่อชาวบ้าน​ (มะขามป้อม) ​รวม​ทั้ง​กวี​ ​และ​นักเขียน​ใน​ชุมชนอำ​เภอเชียงดาว​ ​โดย​การสนับสนุน​จาก​องค์การบริหาร​ส่วน​ตำ​บลปิงโค้ง​

น้องๆ​ ​ที่​เข้า​ร่วมกิจกรรม​เป็น​เด็กเชียงดาว​จาก​หลายหมู่บ้าน​ ​ตั้งแต่ระดับม​.​ต้นจน​ถึง​ม​.​ปลาย​ ​จุดประสงค์ของค่ายมุ่ง​ให้​เด็กๆ​ได้​รู้จักรักใคร่สมัครสมาน​กัน​ ผ่านสายสัมพันธ์ทางสายน้ำ​ ​โดย​อาศัยน้ำ​ป๋าม​ ​ซึ่ง​เป็น​สายน้ำ​ใหญ่​ใน​ ​ต​.​ปิงโค้ง​เป็น​หลัก​ ​ก่อนที่น้ำ​ป๋าม​จะ​ไหลไปรวม​กับ​น้ำ​ปิง​เข้า​สู่ตัวเมืองเชียงดาว​นั้น​ มีสายน้ำ​ย่อยหลายสายไหลมาสมทบ​ ​เด็กๆ​ ​มา​จาก​ชุมชนต้นน้ำ​เหล่า​นั้น​นั่นเอง​ ​ทั้ง​เด็กพื้นราบ​ ​เด็กชนเผ่า​ ​ปะกากะญอ​ ​และ​ลาหู่​ ​พวก​เขา​เหล่านี้อาศัย​อยู่​ตามป่า​เขา​และ​ไหล่ดอย​ ​เป็น​ผู้​ที่​อยู่​ใกล้​ชิดป่า​ไม้​ ​คือคนสำ​คัญที่​จะ​ช่วย​ดู​แลต้นน้ำ​ให้​สะอาดเปี่ยมเต็มสำ​ หรับคนเมืองมากมายที่​อยู่​ปลายน้ำ


กิจกรรม​ใน​ค่ายนอก​จาก​เกม​ ​การสันทนาการที่​เป็น​กระบวนการเรียนรู้​เพื่อ​ให้​น้องๆ​ ​เกิด​ความ​เข้า​ใจ​ความ​สัมพันธ์ของตน​และ​ธรรมชาติ​แล้ว​ ​ยัง​มีวิทยากร​ซึ่ง​เป็น​ผู้​รู้​ใน​ชุมชนมา​ให้​ความ​รู้​และ​อยู่​ร่วม​ กับ​พวก​เขา​ตลอด​ทั้ง​สามวัน​ ​เด็กๆ​ ​ได้​ฟังเรื่องราว​ความ​เป็น​มาของหมู่บ้าน​ ​ป่า​เขา​ ​การทำ​มาหา​เลี้ยงชีพ​ ​การหา​อยู่​หากิน​ใน​อดีต​จาก​ผู้​เฒ่า​ผู้​แก่​ ​และ​ได้​เรียนรู้​จาก​การเดินป่ารอบๆ​ ​บริ​เวณที่ตั้งค่าย​ ​โดย​มีปราชญ์ชาวบ้าน​ ​คุณภาคภูมิ​ ​โปธา ​และ​เจ้าหน้าที่ท่าน​อื่น​จาก​หน่วยจัดการต้นน้ำ​ดอยผา​แดง​ ​พา​ไปดู​แนวป้อง​กัน​ไฟป่า​ ​ศึกษา​แหล่งน้ำ​ซับ​ ​ชีวิตสัตว์​ ​และ​พืชผักอาหารป่า​ ​จาก​ป่า​เขา​อันมีชีวิต​

นอก​จาก​นั้น​พวก​เขา​ยัง​ได้​ทดลองทำ​สื่ออย่างง่าย​ ​เพื่อนำ​ความ​รู้ที่​ได้​ไปเผยแพร่​ ​เด็กๆ​สนใจสร้างงาน​กัน​อย่างกระตือรือร้น​ ​วิทยากร​จาก​ฝ่ายละครชุมชนมะขามป้อม​ ​คุณสุรารักษ์​ ​ใจวุฒิ ​และ​นักเขียนนักแปล​ ​รวิวาร​ ​โฉมเฉลา​ ​ร่วมสอนการทำ​สื่อประชาสัมพันธ์​ ​คุณวีรวรรณ​ ​กังวานนวกุล ​จาก​ฝ่ายละครการศึกษาสอนเด็กๆ​ ​เรื่องละคร​ ​ส่วน​นิทรรศการเคลื่อนที่​นั้น​มีคุณพายัพ​ ​แก้วเกร็ด ​นักจัดกิจกรรม​และ​ศิลปินอิสระ​จาก​กรุงเทพฯ​ ​เป็น​ผู้​ให้​ความ​รู้​ ​นอก​จาก​นั้น​เด็กๆ​ ​ยัง​ได้​รับฟังดนตรี​จาก​กวีนักเขียน​ ​สุวิชานนท์​ ​รัตนภิมล​ ​ซึ่ง​เดินทางมาร้องเพลง​ให้​น้องๆ​ ​ฟัง​ด้วย​ใจ​ ​และ​ได้​ฝึกหัดร้องเพลงค่าย​ ​ซึ่ง​แต่ง​และ​ร้อง​โดย​พี่กวี​ ​ภู​ ​เชียงดาว​ ​ใน​ค่ำ​คืนพรายดาวคืนหนึ่ง


วันสุดท้าย​ ​เด็กๆ​ ​เฮโล​กัน​ขึ้นนั่งท้ายรถกระบะ​ ​เดินทางไปบ้านป่าตึงงามที่​อยู่​ไม่​ไกล​นักเพื่อนำ​ผลงานที่​ได้​จาก​ การเรียนรู้​ไปทดลองเผยแพร่​ ​พวก​เขา​มุ่งตรงไป​ยัง​ศูนย์​เด็ก​เล็ก​ใน​หมู่บ้าน​ ​จัดการแขวนป้ายผ้ารณรงค์​เรื่องน้ำ​ ​แสดงละคร​ให้​เด็ก​เล็กๆ​ ​ดู​ ​และ​เสนอนิทรรศการตัวการ์ตูนหุ่นกระดาษระบายสีสวมลงบนตัว​ ​ตรงพุงมีข้อ​ความ​เกี่ยว​กับ​การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม



นั่นคือ​ ​พลังเยาวชน​จาก​กิจกรรมค่ายที่​เชียงดาว​ ​แม้ว่าสองค่ายแรก​จะ​เป็น​เด็ก พิ​เศษ​ ​มา​จาก​เมือง​ ​มี​ความ​สามารถ​โดดเด่น​ ​ส่วน​เด็กกลุ่มหลัง​อยู่​ใน​พื้นที่ห่าง​ไกล​ ​บางคนอาจ​ไม่​กล้า​แม้​แต่​จะ​พูดภาษา​ไทย​ ​ทว่า​ ​สิ่งที่​เหมือนๆ​ ​กัน​ ​คือแววตา​เปล่งประกายที่​เกิดขึ้นขณะ​อยู่​ค่าย​ ​ความ​สุข​ ​สนุกสนาน​ ​และ​แรงบันดาลใจที่​แสดงออก​ใน​ผลงาน​และ​อากัปกิริยา​ ​รวม​ทั้ง​โลกทัศน์​และ​ชีวทัศน์​ใหม่​ที่พวก​เขา​จะ​ได้​ติดตัวกลับไป​ ​ชวน​ให้​คิดว่า​ ​การจัดค่ายน่า​จะ​เป็น​กิจกรรมสร้างสรรค์ที่​ผู้​ใหญ่​สามารถ​ทำ​ให้​เด็ก​ ได้​ ​อาจ​จะ​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​ยิ่ง​ใหญ่​ ​หรือ​อาศัย​ผู้​เชี่ยวชาญ​ ​ค่าตัวแพงๆ​ ​เพียงแค่ค่าย​เล็กๆ​ ​ใน​ชุมชน​ ​สำ​หรับ​เป็น​แหล่งเรียนรู้​และ​เป็น​ทางเลือก​ให้​กับ​เด็ก​และ​เยาวชน​ใน ​ช่วงวันหยุดยาว​ ​หรือ​ช่วงปิดภาคเรียน​ ​เพื่อที่​แหล่งเกมออนไลน์​ ​หรือ​กิจกรรม​อื่น​อัน​ไม่​สร้างสรรค์​จะ​ไม่​ฉกชิงประชาชนน้อยๆ​ ​เหล่านี้​ไป​....

เราอาจ​จะ​พอหวัง​ได้​ว่า​ ​ใน​อนาคต​จะ​มี​ผู้​ใหญ่​เปี่ยมคุณภาพ​และ​จิตสำ​นึก​ ​เกิดขึ้น​ใน​บ้านเมืองมิ​ใช่​น้อย


ไม่มีความคิดเห็น: